วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 3 ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกยุคคลาสสิก ( กรีก – โรมัน )

บทที่ 3  ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกยุคคลาสสิก ( กรีก – โรมัน )
ศิลปวัฒนธรรมกรีก
         การเข้ามาของชาวกรีก
กลุ่มชนป่าเถื่อนเผ่าอินโด –ยูโรเปี้ยน อพยพจากยุโรปเหนือเข้ามายังคาบสมุทรกรีกและได้รับอารยธรรมไมนวนจากเกาะครีตเข้ามาผสมผสานเรียกว่า  อารยธรรมไมซีเนบนคาบสมุทรกรีก
           ต่อมาคนเผ่าอาเคียน ได้ฟื้นฟูชุมชนขึ้นใหม่ผสมผสานกับพื้นเมืองเอเชียไมเนอร์ เรียกว่า  ชุมชนไอโอเนียน ( Ionians )  
            การติอต่อระหว่างชาวดอเรียนและชาวไอโอเนียน ( คือชาวอาเคียนและชาวเกาะครีตเดิม) ผ่านวัฒนธรรมไอโอเนียนมีผลทำให้เกิดเผ่าพันธุ์ใหม่  เรียกว่าชาวกรีกโบราณอันเป็นต้นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

 พื้นฐานเริ่มแรกของอารยธรรมกรีก ( 2000 BC – 1500 Bc )
   ผลการขุดค้นทางโบราณคดีของ Henrich    Schlieman  เมื่อทศวรรษ 1870s  และทศวรรษ1880s ที่เมืองทรอย ( Troy)  และเมืองไมซีเน ( Mycenae ) ทำให้ทราบว่าอารยธรรมกรีกปรากฏครั้งแรกที่เกาะครีต ( Crete )

ความเจริญของอารยธรรมไมนวน
      อารยธรรมไมนวนของชาวครีตันมีความเจริญสูงสุดระหว่าง 1800 – 1500 ปี ก่อนคริสตศักราช เรียกว่า ยุคพระราชวัง (The Place  Period)”
      อาชีพสำคัญของชาวครีตัน คือ เป็นพ่อค้าคนกลางค้าขายกับชาวอียิปต์  เอเชียไมเนอร์ อนาโตเลีย  ซีเรียและแอฟริกาเหนือ สินค้าสำคัญคือ ข้าวสาลี ไวน์ น้ำมันมะกอก แร่ดีบุก ทองแดง ทองเหลืองและเครื่องปั่นดินเผ่าหลากสี
      ชาวครีตันยกย่องสตรีและนับถือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าสูงสุด   เทพเจ้าของพวกเขามีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าและให้คุณมากกว่าโทษ ทำให้ไม่นิยมสร้างวัด
       ชาวครีตันถูกชาวไมซีเนจากแผ่นดินใหญ่รุกรานและยึดครองเมื่อประมาณ 1500 BC.   ต่อมาชาวไมซีเนได้นำอารยธรรมไมนวนของชาวครีตันขึ้นไปเผยแพร่บนผืนแผ่นดินใหญ่ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเน กลายเป็นอารยธรรมไมซีเน

                อารยธรรมไมซีเน
   ลักษณะเป็นอารยธรรมของชุมชนที่กระจัดกระจายตามชายฝั่งของคาบสมุทรกรีกและเกาะต่างๆในทะเลอีเจียน เป็นรัฐอิสระ มีป้อมปราการเป็นที่อยู่ของประมุข  พลเมืองจะสร้างบ้านเรือนรอบๆป้อมเมื่อเกิดสงคราม
      ชาวไมซีเนเดินเรือค้าขายเก่งไม่แพ้ชาวครีตัน   มีความสามารถทางด้านการรบ  พิสูจน์ได้จากการยึดเมืองทรอยสำเร็จเมื่อปี 1200 BC. และสามารถขยายอิทธิพลไปทั่วฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
     อาราจักรไมซีเนได้ล่มสลายลงเมื่อปี 1120 BC.จากการเผาผลาญของอนารยชนเผ่าดอเรียน ส่งผลให้อารยธรรมซึ่งก่อตัวจากเกาะครีตแล้วขยายตัวมายังดินแดนฝั่งทะเลอีเจียนของประเทศกรีซปัจจุบันยุติลงชั่วคราว

                   การฟื้นตัวของอารยธรรมกรีก
   ในช่วง 700 BC. กษัตริย์ต้องสูญเสียอำนาจด้านการเมืองและการปกครองแก่ขุนนาง แต่หลังจากนั้นไม่นานนักได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย

ศูนย์กลางของอารยธรรมกรีกในยุคคลาสสิก
         เอเธนส์ เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมกรีกเมื่อ 500 BC. ทำให้มีความเจริญทางด้านปรัชญา  อักษรศาสตร์  ศิลปะ การแพทย์  ดาราศาสตร์อย่างรวดเร็ว

 สงครามเพลโลโพนีเซียน
            สงครามเพลโลโพนีเซียนเกิดจากการที่นครรัฐสปาร์ตาซึ่งเป็นรัฐทหารไม่พอใจต่อความรุ่งเรืองของนครรัฐเอเธนส์  จึงร่วมมือกับรัฐน้อยใหญ่เข้าโจมตีนครรัฐเอเธนส์เพื่อชิงความเป็นผู้นำของนครรัฐต่างๆผลที่ตามมาคือความหายนะของนครรัฐกรีกทั้งหมด

       ยุคเฮเลนิสติก (Helenistic) การมีอำนาจของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งรัฐมาซิโดเนียก่อนนครรัฐกรีกเสื่อม
               ยุคนี้กรีกสามารถขยายดินแดนครอบคลุมเอเชียไมเนอร์เปอร์เซียอียิปต์และอินเดียในยุคนี้ศิลปวัฒนธรรมของกรีกได้แพร่หลายทั่วไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างศูนย์การค้าและศิลปวัฒนธรรมกรีกขึ้นที่เมืองอเลกซานเดรียในอาณาจักรอียิปต์ด้วย
 สถาปัตยกรรมกรีก
   ชาวกรีกนิยมสร้างวิหารบนเนินดินหรือภูเขาเล็กๆเรียกว่าอะโครโพลิส วิหารสำคัญคือวิหารพาร์เธนอน สำหรับประดิษฐ์รูปเคารพของเทพีอะเธนา ลักษณะเด่นคือด้านนอกใช้เสาแบบดอริก  ด้านในใช้เสาแบบไอโอนิก 

                                         วิหารพาร์เธนอน แห่งเอเธนส์ สร้างถวายเทพีอะธีนา
                         
  ความเชื่อของชาวกรีก
      ชาวกรีกเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์แต่เทพเจ้ากรีกมีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์  พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าทั้งหมดประทับอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส  มีเทพเจ้าซูสหรือเซอุส  เป็นประมุข
   ประติมากรรม
ระยะแรก  งานประติมากรรมจะใบหน้าตรงและแข็งทื่อ
สมัยคลาสสิก ลักษณะเด่นของงานประติมากรรมสมัยนี้คือ ช่างนิยมทำประติมากรรมรูปชายเปลื่อยกาย
สมัยเฮเลนิสติก   คืองานศิลปะมีลักษณะเหมือนจริง ไม่งดงามแบบเพ้อฝันอีกต่อไป โดยประติมากรรมของกรีกยุคหลังนี้จะแสดงออกให้เห็นความเจ็บปวด
                                                      

                                                                       เทพอพอลโล
    จิตรกรรมของกรีก
   ระยะแรก  เป็นงานจิตรกรรมบนภาชนะดินเผา
  สมัยเฮเลนิสติก     นิยมวาดสีพื้นตัดกับภาพในฉาก
  สมัยหลัง นิยมวาดภาพบนแผ่นกระเบื้องหรือหินสีประดับบนผนังขนาดใหญ่
 การละครของกรีก
เริ่มถือกำเนิดขึ้นจากพิธีการบวงสรวงเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ไดโอนิซิส ลัวพัฒนามาเป็นละครแบบโศกนาฎกรรมและสุขนาฎกรรม โดยใช้ตะวละครชายทั้งหมดสวมหน้ากาก   ใช้ผู้พากย์และนักร้องหมู่
                           
ชาวอีทรัสกันตั้งชุมชนบริเวณที่ตั้งของชาวกรุงโรมก่อนชาวละติน   
บริเวณกรุงโรมเป็นที่ตั้งชุมชนของชาวอีทรัสกัน เมื่อชาวอีทรัสกันอพยพเข้ามายังคาบสมุทรอินเดียแล้วได้นำอารยธรรมชาวกรีกเข้ามาด้วย
ชาวละตินขับไล่กษัตริย์ชาวอีทรัสกันแล้วปกครองแบบสาธารณรัฐ
ในปี 509 ก่อนคริสตศักราช  ชาวละตินได้ขับไล่กษัตริย์ของชาวอีทรัสกันออกไปแล้วตั้งการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นอำนาจการปกครองสาธารณรัฐโรมันอยู่ในมือของชนชั้นสูงคือพวกแพทริเชียน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอาณาจักรโรมันจากระบอบสาธารณรัฐเป็นระบอบกษัตริย์
ระหว่างปี 133-130 ก่อนคริสตศักราช  ชนชั้นปกครองและฝ่ายทหารได้แย่งชิงอำนาจกันเอง    ปีที่ 31 ก่อนคริสตศักราช   ออกเทเวียนแม่ทัพสำคัญหลานชายของจูเลียสซีซาร์มีอำนาจทางทหาร  ส่งผลให้เขาสามารถปราบปรามมาร์ก  แอนโธนี  ทำให้โรมเปลี่ยนแปลงการปกคองจากระบอบสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิแทน ออกเทเวียนทรงเป็นจักรพรรดิองค์แรก มีสมญานามว่าออกัสตัส   ส่งผลให้มีการขยายดินแดนและอารยธรรมอกไปอย่างกว้างขวาง
 สถาปัตยกรรมโรมัน
แม้ชาวโรมันจะด้อยกว่าชาวกรีกในด้านปรัชญาแต่ก็มีความสามรถทางด้านดัดแปลงและปรับปรุงอารยธรรมอย่างกลมกลืนชาวโรมันไม่สร้างวิหารขนาดใหญ่ แต่นิยมสร้างอาคารและสาธารณูปโภคขนาดใหญ่มีการดัดแปลงซุ้มประตูของกรีกให้เป็นแบบอาร์คและดัดแปลงหลังคาอาคารแบบทรงจั่วให้เป็นแบบโดมซึ่งนิยมมากในสมัยกลาง
ประติมากรรมโรมัน
ช่างชาวโรมันมักสะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์แบบสมจริงมีชีวิตชีวาเหมือนธรรมชาติแต่มีส่วนงดงามแบบประติมากรรมกรีก  และนิยมสร้างประติมากรรมรูปเหมือนส่วนครึ่งบนของบุคคลสำคัญ ศิลปินชาวโรมันนิยมแกะสลักภาพนูนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เพื่อสดุดีวีรกรรมของนักรบ

เทพปกรณัมกรีก-โรมัน
เทพปกรณัมกรีก-โรมัน หรือตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาแขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับตำนานของเหล่าเทพเจ้าของชาวกรีก  เพราะชาวโรมันรับอารยธรรมกรีกมาใช้ ล้วนนำความเชื่อเรื่องเทพเจ้ามาด้วย เพียงแต่เปลี่ยนชื่อของบรรดาเทพเจ้ากรีกให้เป็นชื่อของตนเทพเจ้ากรีก-โรมันมีมากมายหลายสิบองค์และเหล่าเทพบางองค์มีความสัมพันธ์กับทั้งเทพและมนุษย์  จึงเกิดทายาทเป็นทั้งมนุษย์และอมนุษย์อีกนับไม่ถ้วน

 กำเนิดเทพปกรณัมกรีก-โรมัน
แรกเริ่มเทพปกรณัมหรือเทวดาตำนานเป็นบทกลอนที่ท่องจำกันมาเป็นรุ่นๆต่อมามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งตำนานเทพเจ้า  บ้างก็ว่า โฮเมอร์แต่ง  บ้างก็ว่ากวีกรีกนาม   เฮซิออดแต่ง
เทพเจ้ากรีก-โรมัน  แห่งยอดเขาโอลิมปัส
 เทพชั้นสูง  อยู่บนสวรรค์บนยอดเขาดอลิมปัส  มีทั้งหมด 12 องคือ ดังนี้
1.  ซูส (Zeus) เป็นพระบิดาของบรรดาเทพเจ้า  รวมทั้งเป็นประมุขแห่งสวรรค์ด้วย ซูสมีอาวุธเป็นสายฟ้า มีนกประจำพระองค์คือนกอินทรี
2.  โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเลของกรีก  สัญลักษณ์ของพระองค์คือ สามง่ามที่สามารถแหวกน้ำทะเลและทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้3.  ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเกษตรกรรม
4. เฮร่า (Hera) ราชินีแห่งสวรรค์  เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส และสตรี  สัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง
5. เฮสเทีย (Hestia) เทพเจ้าแห่งการครองเรือน  เทพเจ้าแห่งครอบครัว พระนางเป็นเทพีที่เป็นพรหมจารีตลอดชีวิต  พระนางมีสัญลักษณ์เป็นไฟนิรันดร6.   อาเรส (Ares) เทพแห่งสงคราม สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยว
7.  อพอลโล่ (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย การรักษา และดนตรี พระองค์เป็นผู้ที่มีเรื่องราวความรักมากมาย และมักเป็นความรักที่ไม่สมหวัง สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน 
8.  อาเทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์  พระองค์เป็นเทพีที่เป็นพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆคือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม
9. เฮอร์มิส (Hermes) เทพแห่งการค้า เทพแห่งการโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ พระองค์มักปรากฎกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคถาที่มีมือพัน
10. อะธีนา (Athena) เทพีแห่งสงคราม ความเฉลียวฉลาด เมื่อเธอเกิดได้โพล่ออกมาจากศีรษะของZeus ในชุดเกาะพร้อมรบ
11.อะโฟรไดตี้(Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม  เนื่องจากพระนางเป็นเทพีที่มีความงดงามมาก   สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก  นกนางแอ่น ห่าน และเต่า  กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย12. เฮฟเฟสตุส (hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง  พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์

สงครามทรอย (Trojan War)
สงครามทรอยเป็นสงครามสำคัญระหว่างชาวกรีกและชาวเมืองทรอยซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียไมเนอร์(ประเทสตรุกีปัจจุบัน) สงครามนี้เกิดขึ้นหลังจากเจ้าชายปารีสแห่งทรอยลักพาเจ้าหญิงเฮเลนวึ่งเป็นชายาของกษัตริย์เมนนิลิอัสแห่งรัฐสปาร์ตากลับไปยังกรุงทรอยมหากาพย์อีเลียดกล่าวถึงการวางแผนตีกรุงทรอยของกองทัพกรีก  โดยสร้างม้าไม้จำลองขนาดยักษ์เรียกว่า ม้าโทรจันเพื่อให้ทหารกรีกเข้าไปว่อนตัวอยู่ในม้า  แล้วเข็นไปไว้หน้ากรุงทรอย  เหมือนเป็นของขวัญว่าชาวกรีกยอมแพ้สงคราม จากนั้นก้ถอยทัพออกห่างจากเมืองทรอย  ชาวทรอยเห็นม้าโทรจัน  ก็ต่างยินดีและเข็นม้าโทรจันเข้าเมือง  และจัดงานฉลองเป็นการใหญ่  เมื่อชาวทรอยหลับกันหมด  ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ก็ออกมาจากม้าโทรจันแล้วเปิดประตูเมืองให้กองทัพกรีกเข้ามายึดเมืองทรอยได้แล้วเผาเมืองทรอยทิ้ง  จึงเป็นสาเหตุให้เหล่าเทพไม่พอใจ  และกลั่นแกล้งไม่ให้ชาวกรีกยกทัพกลับบ้านเมืองอย่างปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น