วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 1 ก่อนประวัติศาสตร์ในยุโรป

บทที่ 1
                 ก่อนประวัติศาสตร์ในยุโรป                
บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรในทวีปอาฟริการะหว่าง2,000,000-500,000ปีมาแล้วจัดอยู่ในกลุ่มมนุษย์ผู้ยืนตัวตรง ( Homo Erectus ) มีความสูงราว 3 ฟุตเศษ ฟันคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน สมองเล็ก ใช้มือเพื่อทำประโยชน์ต่างๆทำเครื่องมือหินด้วยวิธีง่ายๆ  เพื่อใช้คมในการตัด ฟัน หรือขูด  ฟอสซิล(ซาก)ของมนุษย์วานร เรียกว่า “ออสตราโลพิเธคัส-Austalopithecus” เรียกอีกชื่อว่าโฮโมฮาบิลิส-Homo Habilis-มนุษย์ผู้ถนัดใช้มือ กระจายในทวีปแอฟริกา แหล่งสำคัญ  คือ  ซากมนุษย์วานรใน ถ้ำโอลดูเวย์ ( Olduvay Caveในแทนซาเนีย)พบเมื่อค.ศ. 1959 อายุราว1,750,000 ปี BP. เรียกว่า Olduvayensis)    
                           
 Australopethecus, Mrs.Ples                                         Australopithecus Afarensis     


                                    


                                                                           Homo Erectus man                                 มนุษย์ปักกิ่ง

มนุษย์นีแอนเดอธัล (Neanderthal Man)  พบหลักฐานที่ถ้ำนีแอนเดอร์ ใกล้เมืองดุลเซลคอร์ฟ เยอรมนี กระจายอยู่ในยุโรป-รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ 150,000 ปีBP.สูงกว่า 5 ฟุตเล็กน้อย ปริมาณมันสมองใกล้เคียงคนปัจจุบัน ใช้ไฟล่าสัตว์แบบมนุษย์ปักกิ่ง  ประกอบพิธีศพและเชื่อเรื่องวิญญานอมตะโดยวางโครงกระดูกและเครื่องมือทำด้วยฟันและกระดูกสัตว์ในหลุมศพ

                                                                    Neanderthal man
บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบัน มีวิวัฒนาการหลายหมื่นปีมาแล้ว  เรียกบรรพบุรุษมนุษย์ปัจจุบันว่ามนุษย์สมัยใหม่หรือมนุษย์ฉลาด-Homo sapiens” ไม่ว่ารูปร่าง ผิวพรรณ ภาษาหรือเชื้อชาติใด ล้วนสืบเชื้อสายมาจาก Homo sapiens
มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon  Man) มีหลักฐานชัดเจน  โครงกระดูกของมนุษย์โครมันยองพบครั้งแรกที่แคว้นเวลส์ในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1823 ต่อมาใน  ค.ศ. 1868 พบโครงกระดูก
มนุษย์โครมันยองเพิ่มที่ฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยอง มีอายุประมาณ 35,000 ปีBP.จัดเป็นมนุษย์ยุคหิน สูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีปริมาณมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปปัจจุบัน  มีอวัยวะคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน จำแนกช่วงเวลามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอาศัยพัฒนาการเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต         แบ่งเป็น 3 ช่วง  คือ ยุคหินเก่า ( 30,000-16,000 BC. ) ยุคหินกลาง (16,000-10,000 BC.) ยุคหินใหม่ (10,000-1,200 BC.)


                         มนุษย์โครมันยอง                 รูปสัตว์สมัยหินเก่า  30,000-15,000BC. บางชิ้นแกะจากกระดูกหรืองาช้าง  


มนุษย์ยุคหินเก่า (Paleolithic or Old Stone Art) หลักฐานโดดเด่น คือ มนุษย์โครมันยอง เรียกตามชื่อถ้ำโครมันยอง ทางทิศตะวันตกของฝรั่งเศส พบโครงกระดูกและศิลปวัตถุจำนวนมาก จัดเป็นมนุษย์สมัยใหม่ หรือมนุษย์โฮโมซาเปียนส์กลุ่มหนึ่ง รูปร่างสูงใหญ่เกือบ 6 ฟุต กะโหลกศีรษะยาว ใบหน้าสั้น ปริมาณสมองใกล้เคียงชาวยุโรปปัจจุบัน กระจายทั่วยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือสเปน สามารถทางการเขียนภาพบนผนังถ้ำ รู้จักเผาศพและสักบนใบหน้า ประติมากรรมรูปคนมักสร้างเป็นรูปผู้หญิง  เน้นร่องรอยให้กำเนิดมาแล้วอย่างโชกโชน  ประติมากรรมสลักหินรูปวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ  สูง 4 นิ้วเศษ พบที่วิลเลนดอร์ฟ ออสเตรีย(ราว 25,000 -20,000 ปีBC. )ประติมากรรมเทพธิดาแห่งการให้กำเนิด   ดินเผาสูง 8 นิ้ว พบที่    คาทาลคือยึค ( 6,500 – 5,700 ปีBC.  ) ตุรกี วีนัสแห่งเลส์ปุคสลักจากงาช้าง  พบที่ถ้ำเลส์ปุคฝรั่งเศส (ราว 20,000 ปีBC.)เน้นลักษณะทางเพศและมีขนาดเล็ก
รูปสลักVenus  of  Villendorf สมัยหินเก่า  30,000-25,000 BC.พบในออสเตรีย (E. L.-S.,   20)


         ภาพสลักรูปสตรีจากถ้ำLausel  เมืองดอรด์ญอน ฝรั่งเศส  19,000BC.(E. L.-S.,  16)     
การดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยหินเก่า รู้จักล่าสัตว์ และเก็บพืชผัก  ผลไม้กินเป็นอาหาร พึ่งพาธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมเต็มที่  เมื่อฝูงสัตว์และอาหารหมดลง ก็ย้ายถิ่นอาศัยติดตามฝูงสัตว์ไป อาศัยใกล้ทะเลหรือหนองน้ำ เพื่อหาอาหารและใช้น้ำอุปโภคบริโภค ถ้ำที่พวกเขาอยู่อาศัยก็มักจะมีธารน้ำไหลผ่าน เมื่อธารน้ำนั้นอุดตัน   ก็ไปหาถ้ำใหม่อยู่  ได้แก่ ถ้ำในประเทศ สเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี ถ้ำที่มีชื่อเสียง คือ ถ้ำ Altamira  ถ้ำ La Madeleine ถ้ำ Lascaux ถ้ำ Font-de-Gaume  ในสเปนกับฝรั่งเศส
จิตรกรรมบนผนังถ้ำลาสโคซ์ พบว่า มีผลงานทั้งด้านข้างและเพดานถ้ำ ถ้ำ Lascaux ใกล้ Montingnac บริเวณลุ่มน้ำ Dordone ในฝรั่งเศส  พบโดยบังเอิญ ค.ศ. 1940 เด็กชาย ๒ คนไปวิ่งเล่นหน้าถ้ำ   สุนัขได้คาบลูกบอลเข้าไปในถ้ำแล้วออกไม่ได้ เด็กทั้งสองจึงจุดไฟส่องทางตามเข้าไปพบภาพเขียน  ภาพเขียนดังกล่าวมีอายุประมาณ 15,000 – 13,000 ปีBC.ภาพวัวไบซัน  ม้า  กวาง แสดงภาพด้านข้าง  คำนึงถึงความจริง  ท่าทางเคลื่อนไหว  มีทักษะการใช้เส้นที่กล้าหาญ  ไม่คำนึงสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับบางภาพ  เช่น  ภาพวัวบางตัวยาวถึง16ฟุต แต่ภาพม้าสูงเพียงช่วงขาของวัว เป็นต้น วาดภาพซ้อน ทับกัน  สันนิษฐานว่าอาจวาดต่างช่วงเวลา มีเป้าหมายด้านความเชื่อเหนือเหตุผล
                                                                           ภาพเขียนในถ้ำลาสโคซ์


ดร.หลุยส์ เลคกี  ค้นพบมนุษย์ โฮโมฮาบิลิส  เสนอว่า มนุษย์โฮโมฮาบิลิสก้าวหน้ากว่าบรรพบุรุษที่มีความเป็นอยู่คล้ายวานร รู้จักใช้เครื่องมือ  แทนมือเปล่าและกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ไล่ต้อนฝูงสัตว์ลงไปในหนองน้ำแล้วจับตัวอ่อนกิน

                       
                                                                           Homo Habilis



มนุษย์ผู้ยืนตัวตรง ( Homo Erectus ) มีหลายกลุ่ม โฮโม อิเรคตัส ที่เคนยารู้จักล่าสัตว์และทำเครื่องมือใช้(ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ล้านปี)มนุษย์ปักกิ่ง (500,00 -400,000BP.)เป็นมนุษย์ตัวตรง พบเมื่อ ค.ศ. 1929 ในถ้ำโจว-โขว-เตียน ใกล้กรุงปักกิ่ง  สูงประมาณ 5 ฟุต  คิ้วโปน จมูกแบนกว้าง จมูกขากรรไกรใหญ่ คางเล็กเหมือนไม่มีคาง รูปหน้าคล้ายวานรแต่มีมันสมองใหญ่ 2 เท่าของวานร ทำเครื่องมือด้วยหินเหล็กไฟและหินควอทซ์ซึ่งกะเทาะได้ง่าย เครื่องมือที่พบได้แก่ ขวานไม่มีด้าม ทำด้วยหินเหล็กไฟกะเทาะ


ภาพเขียนสีสมัยหินเก่าในถ้ำลาสโค  ประเทศฝรั่งเศส  16,000-10,000 BC.(Edward  Lucie-Smith,  1992,  19)
สีรูปกวางห้าตัวกำลังว่ายน้ำในถ้ำลาสโคซ์ 16,000-10,000 BC.(Edward Lucie-Smith,  1992,  21)


ถ้ำอัลตามีรา (Altamira Cave เป็นถ้ำหินปูนในภาคเหนือของสเปน ลึกประมาณ300หลา   ภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับถ้ำลาสโคซ์ อายุประมาณ 15.000 – 10,000 ปีBC. ด้านทักษะการเขียนภาพเคลื่อนไหวของม้าป่าโดดเด่นลีลาสมจริง แสดงถึงความช่างสังเกตกิริยาท่าทางของสัตว์  มีเทคนิคการระบายพื้นตัวสัตว์ด้วยสีแดง  แล้วตัดเส้นอย่างเชื่อมั่นเด็ดเดี่ยว  ลักษณะของภาพเขียนที่ถ้ำอัลตามีรา ภาพกวาง  ม้า  วัวไบซัน  ทั้งภาพเดี่ยวและฝูง   จำนวน 25 ภาพ แต่ละภาพมีขนาดใกล้เคียงขนาดสัตว์จริงในธรรมชาติ ภาพส่วนใหญ่วาดบนเพดานถ้ำ เป็นเลิศทั้งด้านสุนทรียภาพและกลวิธีการเขียน  และเป็นตัวอย่างผลงานจิตรกรรมของศิลปินถ้ำเสมอ
ศิลปะยุคหินกลางของยุโรป(ระหว่าง 16,000-13,000 BC.)ไม่โดดเด่นมากนัก เป็นรอยต่อที่พัฒนาจากการมีความเป็นอยู่และวิถีชีวิตใกล้เคียงกับสัตว์ กลมกลืนกับธรรมชาติของยุคหินเก่าสู่ยุคหินใหม่ที่สามารถปฏิรูปและจัดการธรรมชาติได้ มักจัดให้ยุคกลางเป็นจุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ จิตรกรรมในสเปน พบตามหน้าผาบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในโปรตุเกสมีการวาดทั้งภาพคนและสัตว์  ภาพขนาดใหญ่สูงประมาณ 3 ฟุต ภาพขนาดเล็กขนาดเล็กสูงประมาณ 6-8 นิ้ว ท่าทางเคลื่อนไหวและเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แสดงออกเป็นรูปแบบคล้ายๆกันทั้งหมด น่าจะเป็นการสร้างสรรค์เกี่ยวกับลัทธิวิญญานนิยม ศิลปะยุคหินกลางมีฝีมือด้อยกว่าศิลปะสมัยหินเก่าและมีจำนวนน้อยกว่าด้วย
ยุคหินใหม่มนุษย์พัฒนามาจากสังคมนายพรานเก็บของป่า ล่าสัตว์และเร่ร่อน   สู่ก้าวใหม่สังคมเกษตรกรรม  เพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์  ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมชน สมัยหินใหม่ตอนต้น มีการสร้างกระท่อมดินดิบมุงด้วยใบไม้     สร้างเรือโดยเอาท่อนซุงผูกเป็นเรือแคนู บางหมู่บ้านรู้จักปลูกข้าวสาลีและข้าวบาเลย์ รู้จักทำธนูและลูกศร  เลี้ยงสุนัข  ใช้หินเหล็กไฟที่ขัดจนบางเรียบ ใช้เครื่องมือหินขัดล่าสัตว์  ป้องกันตัว และทำเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ  ใช้ไฟปิ้งและอบอาหาร ทำภาชนะดินเหนียวและดินเผาใส่อาหาร ศิลปะโดดเด่นที่สุดของยุคหินใหม่ คือ  อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ซึ่งนำเอาหินขนาดใหญ่มาตั้งจัดวางลักษณะต่าง ๆแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบหินตั้งกับแบบโต๊ะหิน  และสามารถแยกย่อยตามลักษณะการตั้งวางได้ด้วย
  หินตั้งเดี่ยว (Menhir or Standing Stone) เป็นแท่งหินตั้งอย่างโดดเดี่ยว  เมนเฮอร์ที่สูงและใหญ่ที่สุดอยู่ที่ลอคมารีเก ฝรั่งเศสสูง 64 ฟุต
  หินตั้งเป็นแกนยาว(Alignment) เป็นการตั้งหินเป็นแนวฉากกับพื้นและตั้งเป็นแถวยาวหลายก้อน  บางแห่งมีหินตั้งกว่าพันแท่ง เรียงรายกว่า 2 ไมล์
  หินตั้งเป็นวงกลม (Cromlech or Stonehenge) เป็นการนำหินมาตั้งเป็นวงกลม  ใหญ่ที่สุดอยู่ที่แอฟบิวรี่ในอังกฤษ ศ.ก.กว้าง 6 ไมล์
  โต๊ะหิน (Dolmen) เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ 3 แท่งหรือมากกกว่านั้นวางพาดทับอยู่ด้วยกันคล้ายโต๊ยักษ์ หรือประตูที่คนสามารถเดินลอดผ่านได้   พบทั่วไปทั้งในยุโรปและอาฟริกา


           Stonehenge of Salisbury  Plain,  England  2,100-2,000BC.(Edward Lucie-Smith,1992,  25)

ภาพเขียนสีจากถ้ำRemesia  เมืองคัสเตเลียน  สเปน  2,000BC.นายพรานสี่คนเต้นรำตามหลังหัวหน้าในพิธีบวงสรวง    สมัยหินใหม่ (Edward Lucie-Smith,  1992,  27)

1 ความคิดเห็น: