ระบบศักดินา(Feudalism)
ความหมายของระบบศักดินา(Feudalism)
Feudalism มาจากคำว่า Fief แปลว่า “ที่ดินแปลงหนึ่ง” หมายถึงระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมที่เน้นความสำคัญของกรรมสิทธิ์ที่ดิน การเป็นเจ้าของที่ดินเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของสิทธิอำนาจทางการเมืองและสังคม หากปราศจากกรรมสิทธิ์ที่ดินบุคคลก็ไม่สามารถอ้างสิทธิทางการเมืองได้
ระบบศักดินาจึงหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดิน ผู้เช่าที่ดินอาจเสียค่าเช่าเพียงเล็กน้อยแต่มีพันธะต่อจ้าของที่ดินหลายอย่าง เช่น การช่วยทำสงครามในกองทหารของเจ้าของที่ดิน การช่วยเหลือเงินเมื่อลูกสาวของเจ้าของที่ดินแต่งงาน ฯลฯ เป็นต้น เจ้าของที่ดินก็ต้องคุ้มครองแก่ผู้เช่าเมื่อถูกปองร้าย หรือดูแลผลประโยชน์และบุตรธิดาของผู้เช่าที่ดินเมื่อเสียชีวิต
ระบบศักดินามีลักษณะการกระจายอำนาจจากรัฐไปยังขุนนาง ขุนนางคนใดเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่และอุดมสมบูรณ์ก็จะมีอิทธิพลทางการเมืองมาก หากอำนาจรัฐอ่อนแออำนาจของขุนนางจะเข้มแข็งแทน ระบบศักดินาหมดไปเมื่อมีรัฐประชาชาติและการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางภายใต้สถาบันกษัตริย์
ความเป็นมาของระบบศักดินา
กรุงโรมแตกหลังจาการโจมตีของอนารยชนเผ่าเยอรมัน 3 ครั้งในปี ค.ศ. 410 ค.ศ. 455 และ ค.ศ. 476 ผู้นำชาวเยอรมันเผ่าวิซิกอธ (The Visigoths) ได้ตั้งตัวเป็นประมุขและทำลายอารยธรรมทุกอย่างในดินแดนเหนือเทือกเขาแอลป์ จนความเจริญต่างๆ สูญสิ้นลงไปอย่างสิ้นเชิง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ยุโรปกลาง เหนือและตะวันตกเป็นดินแดนที่มีการรบวุ่นวายจนกระทั่งระหว่างศตวรรษที่ 9-11 จึงเกิดระบบการปกครองที่ผสมผสานอารยธรรมกรีกโรมัน กอล (Gaul) และเยอรมันเข้าด้วยกัน กลายเป็นจารีตที่เน้นกรรมสิทธิ์ที่ดินและความผูกพันแบบสังคมกสิกรรมศักดินา (Feudal Agarian Society) ระหว่างชาวนา ทาสและเจ้าของที่ดินโดยมีศาสนาเป็นตัวเชื่อม
ปัจจัยในการก่อตัวของระบบศักดินาแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
1.การรับจารีตการปกครองทางโลกมาจากโรมัน
ในยุคโรมันมีจารีตที่บุคคลต้องสวามิภักดิ์ต่อผู้มีอำนาจ เพื่อรับความคุ้มครองและทำงานรับใช้เป็นการตอบแทน ความสัมพันธ์เช่นนี้อิสระชนเรียกว่า “Patron and Client relationship” ในกรณีของทาสเรียกว่า “Master and Slave relationship” ความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่งที่สืบจากสมัยโรมันคือ เมื่อบุคคลเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินก็มีพันธะให้ความคุ้มครองผู้เช่า ครั้นชาวกอลและชาวแฟรงค์ยึดครองจักรวรรดิโรมัน อารยชนทั้ง 2 พวกก็รับจนรีตนี้ไว้ด้วย ในยุคเสื่อมของจักรวรรดิโรมัน (คริสต์ศตวรรษที่ 3-4) เกิดปัญหาแรงงานเกษตรกรรม ซึ่งเอื้อต่อระบบศักดินาในสมัยกลาง ดังนี้
-การเช่าที่ดินระยะยาว (The Precarium) เกิดจากการที่กฎหมายยอมให้เกษตรกรซึ่งผิดสัญญาเช่าที่ดินถูกไล่ออกจากที่ดินได้ เจ้าที่ดินรายย่อยจึงยอมยกที่ดินให้เจ้าหนี้หรือเจ้าที่ดินรายใหญ่เพื่อแลกกับการคุ้ม ครอง จึงเป็นที่มาของการตกอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าที่ดินจำนนต่ออำนาจส่วนกลาง ในสมัยศักดินาส่วน กลางในสมัยศักดินารุ่งเรืองเจ้าที่ดินจึงมีอำนาจเด็ดขาดเหนือประชาชนทั้งทางการบริหาร กฎหมายและตุลาการ
-การสร้างอาณานิคมแรงงาน (The Colonate) ซึ่งห้ามเกษตรกรหรือผู้เช่า
ที่ดินย้ายถิ่นฐาน เพื่อประกันผลผลิตและป้องกันการอพยพเข้าสู่เมืองใหญ่ ทำ
ให้แรงงานเกษตรกรรมกลายเป็นทาสที่ดิน (serf) ภายใต้อำนาจของเจ้าที่ดิน
2.การรับรูปแบบการปกครองทางศาสนามาจากโรมัน
ระหว่างที่จักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกนั้น อำนาจของพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมทั้งด้านศาสนาและการเมืองมีสูงมาก ทำให้รอดพ้นจากการถูกทำลายและสามารถพัฒนามาเป็นการปกครองคณะสงฆ์ มีการรักษาผลประโยชน์ของสถาบันศาสนาแบบ “Benefice” คือ จารีตการยกที่ดินของวัดให้เอกชนเช่า โดยรับค่าตอบแทน คือ แรงงานและการเป็นทหารหรือยกผลผลิตให้แก่วัด ราชวงศ์เมโรวินเจียนของชาวแฟรงค์และราชวงศ์ชาร์เลอมาญของเผ่าเยอรมัน ได้นำระบบ Benefice ไปใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยการให้สิทธิเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินตอบแทนความชอบของอัศวิน เมื่อระบบกษัตริย์อ่อนแอที่ดินของกษัตริย์จึงถูกขุนนางยึดครอง และนำมาสู่การริดรอนอำนาจสถาบันกษัตริย์ในสมัยกลาง
3.โครงสร้างทางสังคมของอนารยชนเผ่าเยอรมัน
อนารยชนเผ่าเยอรมัน หมายถึง ชนเผ่ากอธ (วิซิกอธ และออสโตรกอธ) เผ่า
แฟรงค์ เผ่าแวนดัล เผ่าติวตอนและเผ่าอเลมานนี ซึ่งเชื่อเรื่องพันธะของญาติ
พี่น้อง (Bond of Kinship) และเกียรติยศของบุคคลเมื่อถูกลบหลู่ โดยญาติจะ
แก้แค้นหรือเรียกร้องค่าเสียหายตามค่าตัว ซึ่งกษัตริย์หรือผู้นำทัพจะไม่มี
อำนาจเหนือ ยกเว้นการเป็นผู้นำในการรบอันเป็นลักษณะของการ เผ่าพันธุ์
กระจายอำนาจ และการเน้นความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าความสัมพันธ์ต่อ
ส่วนกลาง ทำให้กฎหมายของชนเผ่าเยอรมันต่างจากกฎหมายโรมัน
ชาวเยอรมันเชื่อว่า กฎหมายมิได้เกิดจากอำนาจหรือความปรารถนาของประมุขแต่เกิดจากธรรมเนียมของเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการมีเชื้อสายเดียวกัน ต่างจากกฎหมายของโรมันที่บังคับกับคนทุกเผ่าพันธุ์ในจักรวรรดิ เมื่อชาวเยอรมันมาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตะวันตกจึงใช้กฎหมายที่เน้นขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งบริวารต้องภักดี ร่วมรบ รับใช้และอุทิศแรงงานให้ผู้นำ ส่วนผู้นำก็ต้องตอบแทนด้วยการให้ความคุ้มครอง แนวคิดนี้ผสมกลมกลืนจนกลายเป็นระบบศักดินาในที่สุด
โครงสร้างของระบบศักดินาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ได้แก่กษัตริย์ (Suzerain/Overlord) ขุนนางชั้นสูงและสวามิภักดิ(Lords/Vassals) ชาวนาและขุนนางผู้น้อย อัศวิน (Peasants/Knight) และทาส (Serfs)ตามทฤษฎีแล้วกษัตริย์เป็นเจ้าที่ดิน (Fief) ซึ่งไม่ขึ้นกับใคร แต่ในทางปฏิบัติ กษัตริย์อาจเป็นทั้ง Zuzerain และ Vassal อาทิ กษัตริย์วิลเลียมผู้พิชิต (ค.ศ. 1060-1087)ทรงเป็นทั้งดยุคแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศสและเป็นกษัตริย์อังกฤษ ทรงมีขุนนางอังกฤษเป็นvassalsและมีฐานะเท่าเทียมกับกษัตริย์ฝรั่งเศส แต่เมื่อเป็นยุคแห่งนอร์มังดีก็ต้องภักดีต่อกษัตริย์ฝรั่งเศส ผู้พระราชทานแคว้นนอร์มังดีแก่บรรพบุรุษของพระองค์ ยกเว้น Duke Charles the Bold of Burgandi (1467-1477 AD.) ที่ไม่ต้องเข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีในฐาน Vassal ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เนื่องจากทรงมีอำนาจมาก
Lords คือขุนนางชั้นสูงซึ่งได้รับพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีอำนาจเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของสามัญชนผู้เช่าที่ดินของตน Lords ต้องจงรักภักดีต่อ Suzerain มิฉะนั้นพันธะที่มีต่อกันจะสิ้นสุดลง และ Suzerain สามารถเรียกที่ดินกลับคืนได้ Lords ต้องเป็นทหารและให้คำปรึกษาให้แก่ Suzerain นอก จากนี้จะต้องส่งเงินเป็นบรรณาการแด่ Suzerain 3 กรณี คือ เมื่อโอรสองค์แรกของ Suzerain บรรลุนิติภาวะและทำพิธีเป็นอัศวิน เมื่อธิดาองค์แรกของ Suzerain แต่งงาน และเมื่อ Suzerain ถูกจับเรียกค่าไถ่
Subvassals คือ vassals ของขุนนางชั้นสูงถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ Lord มอบให้จึงต้องจงรักภักดีต่อ Lord
Peasants และ Serfs คือชาวนาและทาสที่ทำมาหากินบนที่ดินและอยู่ภาย
ใต้การคุ้มครองของ Suzerain/Lord และ Subvassals ตามลำดับ
เจ้าที่ดินไม่สามารถขายที่ดินซึ่งชาวนาอิสระทำกินได้ แต่สามารถขายที่ดินซึ่งทาสทำกินได้ แม้ Lord จะกดขี่ข่มเหงเพียงใดชาวนาหรือทาสก็ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจาก Suzerain ได้
ระบบศักดินาเป็นระบบโครงสร้างความสัมพันธ์ซึ่งยึดหลักการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของขุนนางเป็นพื้นฐานของการปกครอง แต่ Suzerain ไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองเหนือดินแดนทั้งหมดอย่างแท้จริง ทรงมีอำนาจเด็ดขาดเฉพาะใน Fiefsหรือที่ดินที่มิได้ยกให้แก่ผู้ใดเท่านั้น อาทิในคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงมีอำนาจเหนือกรุงปารีสและ อิลเดอ ฟรองซ์ (Ile de France) เท่านั้น ส่วนดินแดนอื่นๆ นั้นอยู่ใต้อำนาจของ Lords ทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น